บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

น้ำมันเครื่องยี่ห้อไหนดีที่สุด


น้ำมันเครื่องยี่ห้อไหนดีที่สุด
หลักการทำงานของน้ำมันเครื่อง
คุณเฑียร เมฆานนท์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมานี้ว่า บริษัทผู้ค่าน้ำมันต่างชาติ 3 รายใหญ่ คือ เอสโซ่ คาลเท็กซ์และเชลล์ ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการกำจัดน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสีย ทั้งกับสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การปลอมแปลงน้ำมันเครื่องที่วางขายในท้องตลาด
กรอ. ได้ข้อมูลดังกล่าวมาจากตัวเลขที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เก็บรวบรวมมาว่าปีพ.ศ. 2541 มีการใช้น้ำมันเครื่องประมาณ 400 ล้านลิตร เมื่อคำนวณจากสมมติฐานว่าเกิดการสูญเสียในการใช้งานไป 30 เปอร์เซ็นต์ ย่อมต้องมีน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นในตอนที่เจ้าของรถนำไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ใหม่ เป็นจำนวนปีละประมาณ 240 ล้านลิตร ในปริมาณนี้ได้มีการนำไป recycle อย่างถูกวิธีและกลับไปใช้ใหม่ได้ 137 ล้านลิตร น้ำมันเสียถูกนำไปกำจัดทิ้งอย่างถูกต้อง ตามกรรมวิธีปีละ 67 ล้านลิตร จึงเหลือตัวเลขที่ไม่สามารถจะตรวจสอบได้ว่ามีการกำจัดทิ้ง อย่างถูกต้องหรือนำไปทิ้งที่ใดโดยใครและด้วยวิธีการอะไรอีก 67 ล้านลิตร
ตัวเลข 67 ล้านลิตร นี้เอง คือที่มาของการตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเป็นเพราะ 3 บริษัทน้ำมัน ต่างชาติไม่ได้ให้ความร่วมมือในการกำจัดอย่างถูกวิธี
ประเด็นของการให้ข่าวในวันนั้นถึงจะเกิดจากการประชาสัมพันธ์ความสำนึกในปัญหา สิ่งแวดล้อมของปตท. กับแนะนำธุรกิจในการรับกำจัดของเสีย ประเภทมีพิษจากอุตสาหกรรม (Industrial Toxic Waste) ของเจนโก้ แต่ก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะทำให้เกิดหลายคำถามขึ้นมา ซึ่งสมควรที่จะได้รับคำตอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
คำถามแรก ปัจจุบันนี้แต่ละบริษัทค้าน้ำมันมีการดำเนินการในการควบคุมดูแลปั๊มในเครือของตน ในการเก็บและกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้วอย่างไรเพราะครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ก่อนที่จะมีเจนโก้และมีการเซ็นสัญญาระหว่างเจนโก้และปตท. เคยมีคนเล่าให้ฟังว่าบรรดาปั๊มต่าง ๆ ถ้าไม่แอบทิ้งน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วลงท่อระบายน้ำ สาธารณะไป ก็จะเก็บรวบรวมไว้และมีคนมาขอซื้อในราคาถูก
คนที่มารับซื้อน้ำมันเครื่องใช้แล้วเหล่านี้จะนำไปใส่สารอะไรบางอย่างให้ตะกอนในน้ำมัน จับตัวกันตกลง แล้วจึงเทน้ำมันที่ใสแล้วไปบรรจุภาชนะขายใหม่เป็นน้ำมันเครื่องเถื่อน ขายในราคาถูก ตลาดน้ำมันเครื่องประเภทนี้ จะอยู่ตามปั๊มเล็ก ๆ ในชนบท หรือไม่ก็บบรรจุภาชนะ เหมือนน้ำมันเครื่องใหม่ที่มียี่ห้อขายเป็นน้ำมันเครื่องปลอม ปั๊มอาจจะรู้กับผู้ขายว่าน้ำมันเครื่องปลอมนี้ไม่มีคุณภาพ แต่กำไรที่ได้จากน้ำมันเครื่องปลอมสูงกว่ากำไรจากน้ำมันเครื่องแท้ทำให้ปั๊มยอมขาย
น้ำมันเครื่องปลอมประเภทนี้นิยมใช้กับรถที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เพราะรถประเภทนั้น เจ้าของไม่ได้นำมาเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเอง แต่ไม่ว่าจะขายเป็นน้ำมันเครื่องเถื่อน หรือน้ำมันเครื่องปลอม คนทำและคนขายก็ได้กำไรทั้งนั้น ส่วนผลความเสียหายนั้น เกิดในระยะยาวเมื่อเครื่องยนต์ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และพังเร็วกว่ากำหนด
ดังนั้น ไม่ว่าปั๊มจะกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้วโดยการทิ้งลงท่อระบายน้ำหรือขายให้ผู้รับซื้อ ที่ไม่มีมาตรฐานในการ recycle นำกลับมาใช้ใหม่ ผลเสียก็เกิดกับประชาชนคนไทยทั้งสิ้น
ผลเสียทางตรงคือผู้บริโภคต้องซื้อน้ำมันเครื่องที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ ส่วนทางอ้อม ที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นคือ น้ำมันเครื่องนี้เมื่อไหลจากท่อระบายน้ำไปลงแม่น้ำลำคลอง ก็จะไปปกคลุมผิวน้ำ ทำให้น้ำขาดออกซิเจนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์ เล็ก ๆ ในน้ำ จุลินทรีย์เหล่านี้มีความสำคัญยิ่งในระบบนิเวศ์ คือกินของเสียต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำ จึงเท่ากับทำหน้าที่กำจัดของเสียในน้ำโดยธรรมชาติ เมื่อจุลินทรย์ตายก็เท่ากับไม่มีการ กวาดเก็บของเสียในน้ำ น้ำในแม่น้ำลำคลองจึงเน่าเสียทำให้สัตว์น้ำอื่น ๆ ที่มีขนาดใหญ่ ขึ้นไป เช่น ปลา กุ้งหอย หรือแม้แต่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ และเต่า เป็นต้น ก็ไม่สามาถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้ต่อไป
ปัญหานี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำในคูคลองของกรุงเทพฯ เน่าเสียมาช้านาน แต่ก่อนที่จะมีการกำจัดของเสียประเภทน้ำมันอย่างถูกวิธี บรรดานักวิชาการผู้รู้เรื่องดี ก็ไม่อาจจะพูดอะไรได้มาก เพราะพูดออกไป ก็คงจะถูกย้อนจากบรรดาปั๊ม และบริษัทค้าน้ำมันว่า ถ้าเช่นนั้นจะให้ทำอย่างไร
ถึงแม้กทม. จะสร้างระบบบำบัดน้ำเสียใหญ่โตขนาดไหน ก็ไม่สามารถจะกำจัดของเสีย ประเภทน้ำมันเครื่องเช่นนี้ได้ เพราะจะต้องได้รับการกำจัดโดยกรรมวิธีพิเศษโดยเฉพาะ อีกทั้งของเสียประเภท Toxic Waste นี้จะทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียของกทม. ใช้การไม่สมบูรณ์อีกด้วย
การที่มีบริษัทอย่างน้อยหนึ่งรายเสนอตัวเข้ามารับกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้ว จึงพอที่จะทำให้ผู้รับผิดชอบเช่น กรอ. และกระทรวงวิทย์ฯ ออกมาประกาศว่า มีบริษัทใดบ้าง ที่ใช้บริการนี้ และนำไปสู่คำถามที่ว่า บริษัทที่ไม่ใช้บริการทำอย่างไรกับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว เพราะการที่จะตั้งคำถามนี้กับบริษัทผู้ขายเพียง 5-6 บริษัทนั้นง่ายกว่าการถามปั๊มน้ำมันหลาย ๆ พันปั๊มทั่วประเทศ และการที่บริษัทผู้ขายจะปัดความรับผิดชอบให้แก่ปั๊มน้ำมันผู้ซื้อ แต่เพียงลำพังนั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง
คำถามที่สอง คือในเมื่อปัจจุบันมีผู้รับกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้วอย่างถูกต้องตามกรรมวิธี (ต้องอนุโลมว่า ถูกต้องตามกรรมวิธีไปก่อน ตราบใดที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่ากรรมวิธีที่ใช้นั้นไม่ถูกหรือไม่ดี) หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจะมีนโยบายหรือมาตรการอะไรในการบังคับให้ทุกบริษัทน้ำมัน และทุกปั๊มต้องกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้วอย่างถูกต้องจะมีการออกกฎระเบียบบังคับและมีการควบคุมตรวจให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้น ๆ อย่างไร
คำถามที่สาม คือจะยอมให้มีการแข่งขันในการให้บริการกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้วหรือไม่ เพราะถ้ามีเอกชนให้บริการเพียงรายเดียวก็อาจจะเกิดการผูกขาดในเรื่องราคาได้
หากมีระเบียบบังคับให้บรรดาปั๊มต้องส่งน้ำมันเครื่องใช้แล้วไปกำจัดที่โรงงานกำจัด การควบคุมดูแลที่โรงงานเพียง 3-4 แห่งนั้น ย่อมง่ายกว่าการควบคุมดูแลตามปั๊มน้ำมัน ทั่วประเทศอย่างแน่นอน
และคำถามสุดท้ายคือเมื่อดำเนินการทุกอย่างตามที่ควรจะกระทำแล้ว จะมีการบังคับให้ทั้งบริษัทผู้ค้าน้ำมัน เปิดเผยข้อมูลตัวเลขของปริมาณการขาย ปริมาณน้ำมันเครื่องที่รวบรวมส่งโรงงานกำจัด หรือนำไป recycle กลับมาขายใหม่หรือไม่ ?
และในทำนองเดียวกันก็จะต้องให้บริษัทผู้รับกำจัดน้ำมันเครื่องใช้แล้วเปิดเผยตัวเลข ปริมาณน้ำมันเครื่องใช้แล้วที่แต่ละบริษัทส่งเข้ามากำจัดเช่นนั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการ ตรวจสอบว่า ตัวเลขที่บริษัทค้าน้ำมันเปิดเผยนั้นถูกต้องแล้ว
เมื่อใดที่มีระบบและระเบียบในการดำเนินการในขั้นตอนเช่นที่กล่าวไปแล้วนี้ ก็จะสามารถยุติคำถามที่ว่า น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วหายไปไหน ?
ยศวดี บุณยเกียรติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น