บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การขับรถลุยน้ำอย่างถูกต้อง


การขับรถลุยน้ำอย่างถูกต้อง
    ช่วงนี้ทั่วทุกภาคของประเทศกำลังรับมือกับฝนที่กระหน่ำลงมาอย่างหนัก ส่งผลให้บางพื้นที่มีน้ำท่วมสูงจนสร้างปัญหาให้หลายครัวเรือน ขณะเดียวกันความช่วยเหลือจากหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคนไทยทั่วประเทศพร้อมส่งกำลังใจ และให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง
    ก่อนอื่นถ้าต้องลุยน้ำจริงๆ เราควรคะเนระดับน้ำคร่าวๆ และพิจารณาความสูงของรถคุณเองว่าน่าจะฝ่าไปได้ไหม ซึ่งถ้าเป็นรถเก๋งบ้านๆทั่วไป แล้วน้ำสูงประมาณ 5 – 10 ซม. ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าสูงกว่านั้นหรือเริ่มปิ่มๆท่อไอเสียก็ต้องระวังแล้ว
 ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือปิดแอร์ เพราะถ้าพัดลมแอร์ทำ งานอยู่ มันจะพัดน้ำที่อยู่บนถนนกระจายไปทั่วห้องเครื่อง ส่งผลให้เครื่องยนต์ดับได้ ขณะเดียวกันช่วงน้ำท่วมมักมีเศษขยะต่างๆลอยน้ำมา แล้วอาจเข้าไปพันติดกับมอเตอร์พัดลม หรือเกี่ยวใบพัดจนเสียหาย ส่งผลต่อระบบระบายความร้อนในเครื่องยนต์ได้เช่นกันที่สำคัญควรขับช้าๆ ใช้เกียร์ต่ำ หรือถ้ารถเป็นเกียร์อัตโนมัติก็เลื่อนไปที่เกียร์ L และต้องเลี้ยงรอบให้นิ่งที่สุด
ประมาณ 1,500 รอบ ต่อนาที ส่วนบางคนที่กลัวว่าน้ำจะเข้าท่อไอเสีย แล้วยิ่งเร่งเครื่องยนต์เพราะกลัวเครื่องดับนั้นต้องบอกว่าอย่าเด็ดขาด! ไม่เช่นนั้นพวกคลื่นน้ำที่เราดันไปข้างหน้า อาจทะลักกลับมายังห้องเครื่องได้ ซึ่งในความเป็นจริง ถ้าน้ำทะลักเข้าไปยังท่อไอเสียบ้างเครื่องยนต์ยังไม่ดับ เพราะที่รอบเดินเบา ท่อไอเสียจะมีแรงดันให้น้ำออกมาได้สบาย แต่ถ้าท่วมมิดหรือระดับน้ำสูงถึงเครื่องยนต์หรือฝากระโปรงอย่างนั้นไม่รอด แน่นอน
     ขณะเดียวกันหากขับรถผ่านน้ำท่วมจนถึงจุดหมายแล้ว ก็ไม่ควรดับเครื่องยนต์ทันที ควรทิ้งไว้สักพักเพื่อให้น้ำที่อาจจะค้างอยู่ในหม้อพักไอเสียระเหยออกให้หมด นอกจากนั้นควรย้ำเบรก (สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติ) เพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก และย้ำคลัทซ์(ในรถเกียร์ธรรมดา)เพื่อป้องกันคลัทซ์ลื่น
   ส่วนใครที่นำรถไปลุยน้ำ แล้วรุ่งเช้าพบอาการเบรกติด ก็ให้ลองสตาร์ทเครื่อง แล้วเข้าเกียร์หนึ่ง เดินหน้าไปเล็กน้อย จากนั้นกระทืบเบรกให้แรงที่สุด จากนั้นก็ทำแบบนี้อีกครั้งแต่เปลี่ยนเป็นเข้าเกียร์ถอยหลัง ทำสลับกันไปเรื่อยๆ จนอาการหาย แต่ถ้าไม่หายหรือมีอาการผิดสังเกต ก็รีบนำเข้าศูนย์บริการโลด
  เอาเป็นว่าถ้าเจอน้ำท่วมเลี่ยงได้ก็เลี่ยง แต่ถ้าต้องลุยก็นำวิธีการข้างต้นไปลองใช้ พร้อมหมั่นตรวจเช็ครถอย่างสม่ำเสมอแล้วกันนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น