บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์
      การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ( พ.ร.บ. ) (Compulsory Motor Insurance) หมายถึงการประกันภัยรถประเภทที่กฎหมายให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับ ผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการประเภทการประกันภัยรถ โดยรัฐบาลมีเจตจำนงเพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนที่ประสบภัยเป็นสำคัญ
      ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
1. เจ้าของรถ (ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ)
2. ผู้เช่าซื้อรถ (ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ)
3. เจ้าของรถซึ่งนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
     ประเภทรถที่ต้องทําประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ พ.ร.บ.
รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่ รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหารที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ ดังนั้น รถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ให้จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.
   ประวัติความเป็นมาประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ . ศ .2535 ได้มีการริเริ่มยกร่างเมื่อราวปี พ . ศ .2506 โดยกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าของเรื่อง โดยใช้ชื่อกฎหมายดังกล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติประกันภัยรถยนต์เพื่อบุคคลที่สาม พ . ศ . ……….. ซึ่งมีหลักการสาระสำคัญโดยสรุป คือ เจ้าของรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถนั้น หรือ ผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จะต้องวางหลักทรัพย์จำนวนหนึ่งไว้กับนายทะเบียน หรือโดยการเอาประกันภัยได้กับบริษัทประกันภัยในประเทศ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอกผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อร่างกาย หรือชีวิต อันเกิดจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น แต่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้สะดุดหยุดลงในระดับกระทรวง
ต่อมาในปี พ . ศ . 2511 และ พ . ศ . 2520 กระทรวงพาณิชย์ได้ทำการศึกษายกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นอีก การยกร่างกฎหมายดังกล่าวนั้น ก็มีหลักการทำนองเดียวกัน แต่ได้เพิ่มหลักการการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ว่ารถคันใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย และให้บริษัทประกันภัยจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทนเป็นรายปีเพื่อเป็นกองทุนสำหรับจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยกรณีที่มีปัญหา ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้สะดุดหยุดลงในระดับกระทรวงอีกเช่นกัน
ครั้นต่อมาในสมัยรัฐบาลของ ฯพณฯ พล . อ . เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติด้วย ได้พิจารณาเห็นว่าผู้ประสบภัยจากรถเป็นจำนวนมากไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงตกเป็นภาระของผู้ประสบภัยจากรถที่จะต้องช่วยเหลือตัวเองหรือเป็นภาระของรัฐบาลที่ต้องเข้าไปดูแลให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านการรักษาพยาบาลและการดำรงชีพ

ประกอบกับในขณะนั้น ยังไม่มีกฎหมายใดที่ให้ความคุ้มครองทางการเงินแก่ผู้ประสบภัยจากรถในรูปแบบสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในประเทศต่างๆ ถึงแม้จะมีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกและพระราชบัญญัติรถยนต์ ทีมีมาตรการบังคับอยู่บ้าง แต่ก็เป็นการ ควบคุมเฉพาะรถยนต์โดยสารรับจ้าง รถยนต์บรรทุกรับจ้างและรถยนต์รับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร ไม่เกิน 7 คน ซึ่งรถดังกล่าวมีจำนวนรวมกันแล้ว ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนรถที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศ ดังนั้น จึงได้มีคำสั่ง ที่ 16/2526 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2526 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อหามาตรการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ขึ้น คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจได้นำร่างพระราชบัญญัติประกันภัยรถยนต์เพื่อบุคคลที่สาม พ . ศ …… ฉบับหลังสุด
ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ยกร่างขึ้นนั้นนำมาพิจารณาปรับปรุงหลายบทเพื่อให้เกิดความชัดเจนและคล่องตัวในการปฏิบัติยิ่งขึ้น โดยได้เพิ่มบทบัญญัติว่าด้วยวิธีการยึดรถและขายทอดตลาดรถ กรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้มีสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประผู้ประสบภัยขึ้นในกรมการประภัยเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับกองทุน และได้พิจารณาเปลี่ยนชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็น “ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ . ศ . ………. แทนชื่อเดิม ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ยกร่างเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ . ศ . 2528 และได้นำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็นชอบในเวลาต่อมา แต่รัฐบาลก็ได้สิ้นสุดวาระลงเสียก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น